เมนู

อรรถกถาบุญกิริยาวัตถุสูตรที่ 6


บุญกิริยาวัตถุสูตรที่ 6

มิวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การทำบุญนั้นด้วย เป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้น ๆ ด้วย เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายตั้งจิตไว้
ในลักษณะแห่งทานเป็นต้น แล้วคิดว่า ชื่อว่า ทานเห็นปานนี้พวกเรา
ควรให้ ควรรักษาศีล ควรเจริญภาวนา ดังนี้แล้วจึงทำบุญ. ทาน
นั้นแหละ ชื่อว่า ทานมัย อีกอย่างหนึ่ง บรรดาทานเจตนา สันนิฏ-
ฐาปกเจตนา อันสำเร็จมาแต่เจตนาที่ตกลงใจ เจตนาดวงแรกชื่อว่า
ทานมัย เหมือนวัตถุที่สำเร็จมาแต่แป้งเป็นต้นก็สำเร็จด้วยแป้ง
เป็นต้นฉะนั้น. แม้ใน 2 บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ปริตฺตํ กตํ โหติ ความว่า เป็นอันเขากระทำน้อย
คือนิดหน่อย. บทว่า นาภิสมฺโภติ แปลว่า ย่อมไม่สำเร็จผล. บทว่า
อกตํ โหติ ความว่า ไม่ได้เริ่มความเพียรในภาวนาเลย. บทว่า
มนุสฺสโทภคฺยํ ได้แก่ ตระกูลต่ำ 5 ตระกูลอันเว้นจากสมบัติใน
มนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า อุปฺปชฺชติ ได้แก่ ย่อมเข้าถึงด้วยอำนาจ
ปฏิสนธิ อธิบายว่า เกิดในตระกูลต่ำนั้น. บทว่า มตฺตโส กตํ ได้แก่
กระทำ คือไม่น้อยไม่มาก. บทว่า มนุสฺสโสภคฺยํ ได้แก่ สมบัติ
แห่งตระกูล 3 ตระกูล อันงามเลิศในมนุษย์. บทว่า อธิมตฺตํ ได้แก่
ให้มีประมาณยิ่งหรือให้เข็มแข็ง. บทว่า อธิคณฺหนฺติ ได้แก่ ยึดถือ
อธิบายว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่า คือเจริญกว่า.
จบ อรรถกถากิริยาวัตถุสูตรที่ 6